เกี่ยวกับเรา

รับเช่าพระเครื่อง รับเช่าพระบูชา

รับซื้อของโบราณ รับเข่าพระเครี่อง พระบูชา รับซื้อเครี่องลายคราม เบญจรงค์ รับซื้อตะเกียงลาน กระเพาะปลา รับซื้อชุดเชียนหมาก

รับซื้องานถมเงิน งานถมทอง รับซื้อปั้นชา รับซื้อเข็มขัดเงิน รับซื้อพานเงินรับซื้อขันเงิน หากมีพระเก็บสะสมนานเป็นมรดกตกทอด หรือยังไม่ได้มีใครมารับช่วงต่อ พระเครื่อง พระบูชาของท่านมีค่า สามารถนำมาเปลี่ยนเป็นทุน ปรึกษาเราได้ มีบริการรับซื้อถึงบ้านโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่งต่อให้เราดูแล บริการประเมินราคาจริง ตามราคาตลาด ไม่เหมา ไม่กดราคา ซื้อขายตรงไปตรงมา เน้นพระแท้ชัดเจน

เฟอร์นิเจอร์ไม้เก่า

เฟอร์นิเจอร์ไม้เก่า ทุกวันนี้ ไม้ กลายเป็นวัสดุที่หายาก และมีราคา การเลือกใช้ไม้เก่าจึงเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้

ไม้ เป็นวัสดุที่ถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างมาอย่างยาวนาน ทั้งใช้เป็นโครงสร้างอาคาร ส่วนตกแต่งอาคาร และใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ด้วยคุณสมบัติที่รับแรงได้ดี ตัดแต่งง่าย และมีผิวสัมผัสที่ดี ให้ความรู้สึกอบอุ่น ทำให้ไม้ได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย แต่ทุกวันนี้ ไม้ กลายเป็นวัสดุที่หายาก และมีราคาแพง การเลือกใช้ไม้เก่าจึงเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้

ไม้เก่า คือไม้ที่ถูกใช้งานแล้ว อาจได้มาจากการรื้อถอนอาคาร หรือเป็นไม้เหลือทิ้งจากการใช้งานด้านอื่น เช่น ไม้พาเลท ไม้ลัง ไม้เสาไฟฟ้าสมัยก่อน เป็นต้นไม้เก่าเหล่านี้สามารถนำไปใช้ซ้ำได้ ซึ่งไม้เก่ามีข้อดีคือ ไม้จะไม่มีการยืดหด หรือบิดงออีกแล้ว อีกทั้งไม้เก่ายังมีคุณภาพมากกว่าไม้ในปัจจุบัน ส่วนข้อเสียข้อใหญ่คือ ไม้เหล่านี้มักมีตำหนิจากการใช้งาน ไม้ที่มีสภาพดีจึงมีจำกัด อาจมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซ้ำยังต้องใช้เวลาในการคัดเลือก และใช้แรงงานในการซ่อมแซมตัดแต่งไม้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ไม้เก่าอาจมีราคาถูกกว่าครึ่งหนึ่งของไม้ใหม่เลยทีเดียว หรือถ้าเป็นไม้ที่มีอยู่แล้วก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ในบทความนี้จะขอแบ่ง ไม้เก่า เป็น 2 ประเภทคือ ไม้ที่ยังไม่แปรรูป และไม้แปรรูป เพื่อให้ง่ายแก่การยกตัวอย่างประกอบ

1.ไม้ที่ยังไม่แปรรูป
ไม้ที่ยังไม่แปรรูป คือ ไม้ทุกชนิดที่ยังไม่ผ่านการตัดแต่งเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม อาจจะได้มาทั้งต้น หรือเป็นบางท่อน โดยไม้ประเภทนี้เหมาะแก่การนำไปใช้กับบ้านหรืออาคารที่ต้องการสไตล์ธรรมชาติ หากถ้าได้มาทั้งต้น และต้นมีขนาดใหญ่ก็อาจเอาไปทำเสาหรือคาน แต่ถ้าต้นมีขนาดเล็ก เช่น ไม้ไผ่ หรือไม้ยูคาลิปตัส ก็อาจจะนำไปทำเป็นระแนงบังแดด ราวกันตก หรือเฟอร์นิเจอร์สไตล์ธรรมชาติได้ นอกจากนี้ยังอาจนำเอาท่อนไม้มาตัดตามขวางเป็นแว่นๆ เพื่อนำไปประดับตกแต่งผนังได้อีกด้วย

2. ไม้แปรรูป
ไม้แปรรูป คือไม้ที่มีขายตามท้องตลาดเป็นขนาดหน้าตัดต่างๆ เช่น 1”x3” 2”x4” เป็นต้น ไม้แปรรูปได้มากจากการตัดท่อนซุงออกเป็นชิ้นตามขนาดที่ต้องการ ไม้แปรรูปสามารถนำไปใช้ได้ทั้งส่วนโครงสร้างอาคารที่รับน้ำหนัก และส่วนอื่นๆ ของอาคารที่ไม่ใช่โครงสร้าง

2.1 ไม้แปรรูปที่ใช้เป็นโครงสร้าง
ไม้แปรรูปที่ใช้เป็นโครงสร้างมักเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้ประดู่ ไม้แดง และมีหน้าตัดของไม้ที่ใหญ่ เช่น 6”x6” 2”x8” 2”x6” 2”x4” เป็นต้น ไม้เหล่านี้รับแรงได้มาก สามารถนำไปใช้ทำ เสา คาน ตง พื้น และโครงสร้างหลังคาได้ ดังนั้นไม้เก่าประเภทนี้ก็ควรนำไปใช้เป็นโครงสร้างเหมือนเดิม โดยจะขอยกตัวอย่างบ้านหลังหนึ่งที่เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย ออกแบบโดย WHBC Architects สถาปนิกได้เลือกใช้ไม้เก่าจากที่ต่างๆ รวมทั้งเสาโทรเลขโบราณมาทำโครงสร้าง ซึ่งจุดที่น่าสนใจคือ ไม้เสาโทรเลขมีขนาดเล็ก รับน้ำหนักได้ไม่มาก สถาปนิกจึงออกแบบให้ตำแหน่งเสาแต่ละจุดมีเสาโทรเลข 4 ต้น ซึ่งทำให้ได้เสาที่ดูโปร่งเบาสวยงาม

เครื่องครัวและชุดอุปกรณ์เครื่องครัว

ถึงเวลาเข้าครัวทำอาหารแล้ว! เครื่องครัวของเราประกอบด้วยหม้อและกระทะ อย่างหม้อน้ำซุป กระทะทอด และกระทะอเนกประสงค์ หลายขนาดสำหรับทำอาหารเกือบทุกประเภท เลือกใช้ร่วมกับอุปกรณ์ครัวที่ใช้ได้ดีและมีสไตล์ของเราตามที่คุณต้องการ

เรามีเครื่องครัวสแตนเลส เครื่องครัว และชุดอุปกรณ์เครื่องครัว มือสองให้เลือกมากมาย โดยที่เครื่องครัวทั้งหมดนั้น จะได้รับการปรับปรุงให้สภาพใกล้เคียงกับของใหม่มากที่สุด ทั้งการเปลี่ยนหัวเตาแก๊ส วาร์วระบบท่อแก๊ส เปลี่ยนสะดืออ่าง ขัดผิวสแตนเลส และเปลี่ยนอะไหล่ต่างๆที่จำเป็นต่อการใช้งานครัวของลูกค้า ลูกค้าจึงมั่นใจได้เลยว่า จะได้สินค้าชุดเครื่องครัวสแตนเลสมือสอง ที่พร้อมสำหรับการใช้งาน ทั้งเรายังมีบริการออกแบบครัวด้วยชุดเครื่องครัวสแตนเลสมือสองอีกด้วย

สุราเก่า หรือ เหล้าเก่า

สุราเก่า หรือ เหล้าเก่า ลูกค้าที่มีความหลงใหลใน ไวน์ สุรา ชั้นดี และสุราหายากสามารถเข้ามาติดต่อสอบถาม รับซื้อของสะสมของโบราณ ทางออนไลน์ได้ ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดบน รับซื้อของสะสมของโบราณ มีที่มาที่ยอดเยี่ยมและมาจากบ้านประมูลที่มีชื่อเสียง และนักสะสมที่เชื่อถือได้

สุราส่วนใหญ่เหล่านี้สามารถดื่มได้อย่างเต็มที่ ทำให้ผู้ชื่นชอบสามารถกำหนดได้ว่าแบรนด์ดังเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป และผู้ที่ชื่นชอบค็อกเทลสามารถสร้างสรรค์เครื่องดื่มย้อนยุคที่แท้จริงได้

ขวดส่วนใหญ่อยู่ในสภาพที่ดีเยี่ยมอย่างแท้จริงเมื่อพิจารณาจากอายุ โดยมีตราประทับที่ไม่บุบสลายและฉลากที่สะอาดและชัดเจน แน่นอนว่าบางคนได้รับความเสียหายเล็กน้อยตลอดอายุขัยของพวกเขา และหากเป็นกรณีนี้ เราพยายามที่จะแจ้งให้คุณทราบถึงสภาพที่แน่นอน

แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และหลายผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการอย่างมากและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราจะเพิ่มขวดใหม่ลงในไซต์เมื่อเราพบขวด ดังนั้นโปรดกลับมาตรวจสอบสินค้าใหม่อยู่เสมอ หากคุณต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับขวดใดขวดหนึ่ง หรือต้องการให้เราพยายามจัดหาขวดใดขวดหนึ่งให้คุณ โปรดแจ้งให้เราทราบ

หากคุณต้องการเพิ่มขวดใดขวดหนึ่งลงในคอลเลคชันของคุณ หรือกำลังมองหาของขวัญที่ไม่ซ้ำใครและน่าสนใจ เจาะลึกเกี่ยวกับ รับซื้อของสะสมของโบราณ ที่มีให้เลือกมากมาย และค้นพบเครื่องดื่มในอดีต

ลายคราม

ลายคราม เรียกเครื่องภาชนะเนื้อกระเบื้องที่เขียนลายเป็นสีคราม เช่น ชามลายคราม แจกันลายคราม, โดยปริยายหมายถึงของเก่าที่มีค่า เช่น เก่าลายคราม ไม่ใช่เก่ากะลา, เก่า, โบราณ, เช่น รุ่นลายคราม.

เครื่องลายครามหรือภาชนะกระเบื้องหรือชามเนื้อขาว อันมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน (เครื่องกังไส) ในประเทศไทยเครื่องลายครามมีต้นกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 1873 โดยได้รับอิทธิพลจากประเทศจีนที่ร่วมทำการค้ายังประเทศไทย เครื่องลายครามได้พัฒนาเกิดเป็นวิวัฒนาการทางศิลปะวัฒนธรรมจีน ไทย และได้รับความนิยมมากขึ้นในปีพ.ศ. 1911-2186 หรือราชวงศ์เหม็ง

ประเทศไทยนับว่าเครื่องลายคราม เครื่องชามเบญจรงค์เป็นของสะสม ของเก่าแก่ที่ถูกสืบสานโดยบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น นับเป็นสมบัติล้ำค่าที่ได้รับความนิยมหามาสะสมจนถึงสมัยปัจจุบัน

สีที่ใช้ในการนำมาวาดเครื่องลายครามนั้นเป็นสีครามหรือสีน้ำเงิน อันมีส่วนผสมของสารโคบลอต์ออกไซด์ (cobalt oxide) สีเฉพาะสำหรับเครื่องปั้นดินเผา โดยลักษณะกระบวนการผลิตนั้นต้องนำไปเผาอบและเคลือบด้วยน้ำยาเคลือบ

เครื่องปั้นดินเผาที่ถูกนำมาใช้เป็นภาชนะใช้ในครัวเรือน แบ่งเป็น  4 ประเภท ได้แก่

  • เครื่องถ้วยสมัยก่อนประวัติศาสตร์
  • เครื่องถ้วยเขมรหรือลพบุรี
  • เครื่องสังคโลกสมัยกรุงสุโขทัย
  • เครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยเขียนสี เครื่องลายคราม เครื่องเบญจรงค์และเครื่องลายน้ำทอง

เครื่องปั้นดินเผาหรือเบญจรงค์ (ceramic)

ที่มาของคำว่า เครื่องเบญจรงค์ มาจากคำว่า เบญจ หมายถึง 5 รงค์ หมายถึง สี) จะมีลวดลายจากแม่สีทั้งห้า ได้แก่ ดำ แดง ขาว เหลืองและเขียวหรือสีคราม ผ่านกระบวนการลงยาสี โดยเครื่องเบญจรค์นั้นนิยมใช้ดินประเภทอร์ซเลน (porcelain ware) อันมีต้นกำเนิดในประเทศจีน (ปลายปีพุทธศตวรรษที่ 20) หรืออยู่ในระหว่างรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา

โดยในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิชวนเต๊อะ (พ.ศ. 1969-1978) มีการผลิตเครื่องเบญจรงค์ครั้งแรกในแคว้นกังไซ มณฑลเจียงซีหรือแคว้นกังไส และได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเฉิงฮั่ว (พ.ศ. 2008-2030) สำหรับประเทศไทย ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาเครื่องเบญจรงค์ได้รับความนิยมอย่างมากจนได้มีการสั่งผลิตและเรียกว่า “เครื่องถ้วยจีน-ไทย” (Sino-Thai wares)

เครื่องลายคราม

เครื่องลายครามหรือเครื่องปั้นดินเผาที่นำสีน้ำเงินหรือสีครามมาใช้ในการวาดลวดลาย

เครื่องลายน้ำทอง

คือเครื่องปั้นดินเผาที่มีการใช้สีทองผสมผสานกับสีที่ใช้ในเบญจรงค์วาดเป็นลวดลายต่าง ๆ ลวดลายต่างๆ คล้ายเครื่องเบญจรงค์โดยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้มีการสั่งทำจากประเทศจีนที่ได้มีการทำการค้าร่วมกันในสมัยนั้น และยังพบว่ามีการสั่งทำเครื่องลายน้ำทองจากประเทศญี่ปุ่น เรียกว่า “เครื่องถ้วยดนบูริ”

เครื่องลายคราม เครื่องเบญจรงค์ เครื่องลายน้ำทองได้รับความนิยมตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีการพัฒนาลวดลายมาเรื่อยๆ จวบจนสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีรับสั่งให้ผลิตเครื่องเบญจรงค์ครั้งแรกในไทย

โดยใช้เตาเผาของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ โดยเครื่องเบญจรงค์ที่ผลิตในสมัยนั้นถูกเรียกว่า “เครื่องถ้วยวังหน้า” ส่วนที่ได้รับความนิยมอย่างมากเป็นถ้วยลักษณะคล้ายกระโถนหรือ “กระโถนวังหน้า”

โต๊ะหมู่บูชา

โต๊ะหมู่บูชา คือ กลุ่มหรือชุดของโต๊ะที่ใช้ตั้งพระพุทธรูป หรือ สิ่งอันเป็นที่เคารพสักการะโต๊ะหมู่บูชาเป็นที่ตั้งเครื่องบูชาประกอบด้วยม้า ๔ ขา หลายตัวคุ้มกัน
เป็นหมู่ มี หมู่ ๓ หมู่ ๔ หมู่ ๕ หมู่ ๗ หมู่ ๙ และหมู่ ๑๑ เดิมเรียกว่า “ม้าหมู่บูชา” โดยควรวางเครื่องสักการะบูชาที่คู่ควรเป็นสง่างาม เป็นจุดเด่นของบ้านหรือสถานที่ ดังนั้นจึงควร
จัดโต๊ะหมู่บูชาให้เหมาะสมสวยงาม

โต๊ะหมู่บูชา คือ กลุ่มหรือชุดของโต๊ะที่ใช้ตั้งพระพุทธรูป หรือ สิ่งอันเป็นที่เคารพสักการะ เช่น พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ หรือพระบรมรูปหล่อของพระมหากษัตริย์ พระฉายาลักษณ์ หรือพระสาทิสลักษณ์ ของพระบรมวงศานุวงศ์ หรือรูปของบรรพบุรุษ ประกอบด้วยเครื่องบูชา อันเป็นการแสดงออกซึ่งความเคารพอย่างสูงของผู้ที่สักการะ และเป็น การแสดงถึงความกตัญญูที่พึงมีต่อผู้มีอุปการคุณซึ่งเป็นวัฒนธรรมอันดีงาม ที่มีคุณค่ายิ่งของสังคมไทย

การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา ในปัจจุบัน นิยมจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาในกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
๑. การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในพิธีทางพระพุทธศาสนา
๒. การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในพิธีถวายพระพร
๓. การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือของพระราชทาน
๔. การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในการรับเสด็จฯ หรือตามเส้นทางเสด็จฯ
๕. การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในพิธีถวายสักการะเนื่องในวันสำคัญเกี่ยวกับ สถาบันพระมหากษัตริย์
๖. การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในการประชุมหรือสัมมนา
๗. การตั้งโต๊ะหมู่บูชาเพื่อการประกวด
อนึ่ง สำหรับการจัดสถานที่บูชาที่บ้าน จะเป็นการจัดสถานที่บูชา ไม่เป็นพิธีการมากนัก แต่ควรจะมีสถานที่บูชาพระไว้ในบ้านในฐานะที่เป็น พุทธศาสนิกชน ซึ่งบางบ้านจะใช้สถานที่บูชาพระที่มีลักษณะเป็นหิ้งพระ (คือการใช้เหล็กหรือไม้ที่มีลักษณะมุมฉากติดกับฝาผนังและมีพื้นด้านบน แล้วนำพระพุทธรูปประดิษฐานไว้บนหิ้ง พร้อมด้วยเครื่องบูชาหลัก ได้แก่ ดอกไม้ธูป และเทียน) แต่บ้านที่มีสถานที่กว้างพอก็ควรใช้โต๊ะหมู่บูชา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป พร้อมด้วยเครื่องบูชา ชุดโต๊ะหมู่บูชาที่นิยมใช้ เป็นโต๊ะหมู่สำหรับบูชาพระในบ้าน คือ โต๊ะหมู่ ๕ และหมู่ ๗

การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในพิธีทางพระพุทธศาสนา การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในพิธีทางพระพุทธศาสนา การบำเพ็ญกุศล ทางพระพุทธศาสนาต้องมีการจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาทั้งงานกุศลพิธีและบุญพิธี งานกุศลพิธีคือ พิธีกรรมต่าง ๆ อันเกี่ยวด้วยการอบรมเพื่อให้เกิดความดีงาม ทางพระพุทธศาสนาเฉพาะตัวบุคคล รวมทั้งการปฏิบัติศาสนพิธีของพระสงฆ์ และงานบุญพิธีคือ พิธีกรรมที่พุทธศาสนิกชนปรารภทำความดีเนื่องด้วย ประเพณีในครอบครัว หรือประเพณีที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนทั่วไป ไม่ว่าจะ เป็นงานมงคล หรืองานอวมงคล ก็จะมีการตั้งโต๊ะหมู่บูชาในลักษณะประยุกต์ โดยไม่จำเป็นจะต้องจัดเต็มรูปแบบเหมือนกับการจัดโต๊ะหมู่บูชาเพื่อใช้ ในการประกวด ซึ่งการจัดโต๊ะหมู่บูชาในพิธีทางพระพุทธศาสนาจะมีการจัดตั้ง โต๊ะหมู่บูชาตามแบบอย่างดังต่อไปนี้


ทองเหลือง

ทองเหลือง (อังกฤษ: Brass) เป็นโลหะผสมที่มีทองแดงและสังกะสีเป็นส่วนประกอบหลัก ปริมาณของสังกะสีนั้นแปรเปลี่ยนไป ระหว่าง 30 – 60 เปอร์เซนต์ ทำให้ได้ทองเหลืองที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป[1] ทองเหลืองแตกต่างจากสำริดตรงที่ สำริดมีส่วนประกอบของทองแดงและดีบุกเป็นหลัก[2] แต่ทองเหลืองบางชนิดก็ถูกเรียกว่า “สำริด” ก็มี

ทองเหลืองยังเคยเป็นโลหะที่เชื่อกันว่าแข็งแกร่งที่สุดในยุคสำริดและความเชื่อนี้ยังตกทอดมาถึงปัจจุบัน กลายเป็นโลหะในตำนานที่ชื่อว่าโอริคัลคุมซึ่งเป็นคำศัพท์ภาษาละตินที่มาจากภาษากรีก ορείχαλκος (ออเรอิฆัลคอส) ซึ่งแปลว่า “ทองเหลือง”

ทองเหลืองนั้นมีสีเหลือง จึงมีลักษณะบางส่วนคล้ายทองคำ มีความต้านทานต่อการเกิดสนิมได้ดีพอสมควร จึงนิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับตกแต่งภายในบ้านเรือน

มนุษย์รู้จักทองเหลืองมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ นานก่อนที่จะค้นพบธาตุสังกะสีด้วยซ้ำ การผลิตทองเหลืองนั้น อาศัยการหลอมละลายทองแดงกับแร่คาลาไมน์ ซึ่งเป็นสินแร่สังกะสีชนิดหนึ่ง ในกระบวนการนี้ สังกะสีจะถูกดูดออกมาจากคาลาไมน์ และผสมเข้ากับทองแดง สำหรับสังกะสีบริสุทธิ์นั้นไม่สามารถผลิตด้วยเทคนิคงานโลหะสมัยโบราณได้

ในปัจจุบันยังมีเครื่องทองเหลืองให้พบเห็นในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ขันทองเหลือง พานทองเหลือง แจกันทองเหลือง กระทะทองเหลือง และ เครื่องใช้ เครื่องตกแต่งทำด้วยทองเหลือง อีกมากมาย

ในอุตสาหกรรมผลิตทองเหลืองทั่วๆไป จะแยกมาตรฐานออกไปสองกลุ่ม คือ ประเภทรีดเป็น แท่ง หรือเป็นแผ่น (Wrough copper alloys) กับอีกกลุ่มหนึ่งจะเป็นประเภทหล่อ (Cast copper) ซึ่งทั้งสองกลุ่มจะแยกชั้นคุณภาพ จะหารายละเอียดได้จากคู่มือ ASTM หรือ JIS ในการศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติเชิงกล มักจะกล่าวถึงชื่อทองเหลืองที่รู้จักและใช้งานกันอยู่เป็นประจำซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก คือ

ทองเหลืองที่ผสมสังกะสีไม่เกิน 5% มีชื่อเรียกทางการค้าว่า Gilding metal ใช้ทำเหรียญ

ทองเหลืองที่ผสมสังกะสี 10% เรียก Commercial bronze หรือบรอนซ์ทางการค้า คุณสมบัติใช้ งานคล้ายคลึงกับ Gilding metal

ทองเหลืองผสมสังกะสี 12.5% เรียก Jewerlry bronze หรือทองเหลืองทำเครื่องประดับ

ทองเหลืองผสมสังกะสี 15% เรียก Red Brasses หรือทองเหลืองแดง

ทองเหลืองผสมสังกะสี 30% เรียก Cartridge brass หมายถึงทองเหลืองที่ใช้ทำปลอกกระสุน ปืน ทำท่อที่ต้องอาศัยการอัดขึ้นรูป (Extrusion)

ทองเหลืองผสมสังกะสี 35% เรียก Yellow brass หมายถึงทองเหลืองที่มีสีค่อนข้างเหลืองจัด คุณสมบัติและการใช้งานใกล้เคียงกับ Cartrige brass

ทองเหลืองผสมสังกะสี 40% เรียก Munts Metal คำว่า Muntz เป็นชื่อทางการค้า


ถมทอง

ถมทอง เครื่องถมเป็นศิลปหัตถกรรมประเภทประณีตศิลป์ เครื่องถมมีอยู่ ๓ แบบ คือ ถมเงิน (หรือถมดำ) ถมทอง และถมตะทอง

ถมทอง ถมดำนั่นเอง แต่แตกต่าง ที่ลวดลาย คือ ลายสีเงินได้เปลี่ยนเป็นสีทอง ช่างถมจะเปียกหรือละลายทองคำให้เหลวเป็นน้ำ โดยใส่ทองแท่งลงในปรอท ปรอทจะละลายทองแท่งให้เป็นน้ำ ช่างถมจะชุบน้ำทองผสมปรอทด้วยพู่กัน เขียนทับลงบนลวดลายสีเงิน

การเขียนน้ำทองละลายปรอทนี้ จะต้องใช้ความประณีตเป็นอย่างมาก ต้องเขียนทับลงบนเส้นเงินเท่านั้น เมื่อเขียนเสร็จแล้ว จะใช้ความร้อนไล่ปรอทออกจากทอง ทองก็จะติดแน่นอยู่ บนพื้นที่เขียนน้ำทองนั้น ถมทองมีความงามตรง ที่เป็นสีทอง ลวดลายกระจ่างเด่นชัด ทองที่ทาทับ ก็จะมีความคงทนนับร้อยปี

ประเภทของเครื่องถม

เครื่องถมมีอยู่ ๓ แบบ คือ ถมเงิน (หรือถมดำ) ถมทอง และถมตะทอง
1.ถมเงิน หรือที่นิยมเรียกกันว่า ถมดำ ลักษณะเป็นเนื้อถมที่ถมลงไปบนพื้นตามร่องลาย เป็นสีดำมันซึ่งเนื้อถมจะขับลวดลายให้เด่นงดงามอยู่บนพื้นสีเงิน เป็นถมที่เก่าแก่ที่สุดตามความนิยม ถมที่ดีต้องมีสีดำสนิทไม่มี “ตามด” (ตามดคือจุดขาวบนสีดำ) ถมเป็นกรรมวิธี ในการผสมของโลหะสามอย่างเข้าด้วยกัน คือ เงิน ตะกั่ว และทองแดง นำมาป่นจนเป็นผงละเอียดเพื่อโรยลงบนพื้นแผ่นเงินที่ขูดร่อง หรือตอกเป็น ลวดลายไว้แล้ว การที่จะให้ผงถมเกาะแน่นอยู่ที่การเหยียบพื้น (คือการแกะหรือตอกร่องลงบนเนื้อเงินที่เป็นพื้นของลายที่ตอก) ถ้าเหยียบพื้น ให้มีรอยขรุขระมากเท่าใด ผงถมก็เกาะได้มากเท่านั้น
2.ถมทอง ก็คือถมดำนั่นเอง แต่แตกต่างที่ลวดลาย คือลายสีเงินได้เปลี่ยนเป็นสีทอง ช่างถมจะเปียกหรือละลายทองคำให้เหลวเป็นน้ำ โดย ใส่ทองแท่งลงในปรอท ปรอทจะละลายทองแท่งให้เป็นน้ำ ช่างถมจะชุบน้ำทองผสมปรอทด้วยพู่กันเขียนทับลงบนลวดลายสีเงิน การเขียนน้ำทองละลายปรอทนี้ จะต้องใช้ความประณีตเป็นอย่างมาก ต้องเขียนทับลงบนเส้นเงินเท่านั้น เมื่อเขียนเสร็จแล้วจะใช้ความร้อนไล่ปรอทออกจากทอง ทองก็จะติดแน่นอยู่บนพื้นที่เขียนน้ำทองนั้น ถมทองมีความงามตรงที่เป็นสีทอง ลวดลายกระจ่างเด่นชัด ทองที่ทาทับก็จะมีความคงทนนับร้อยปี
3.ถมตะทอง เป็นศัพท์ของช่างถม หมายถึง วิธีการระบายทองคำละลายปรอทหรือแต้มทองเป็นแห่งๆ เฉพาะที่ มิใช่ระบายจนเต็มเนื้อที่อย่าง เดียวกับการทำถมทอง โดยเอาทองคำแท้ๆ ใส่ลงในปรอท ทองละลายอยู่ในน้ำปรอท เมื่อเอาน้ำปรอทที่มีทองคำละลายปนอยู่ไปแต้มตามแห่งที่ต้องการให้ เป็นสีทองนั้น ในขั้นแรกปรอทจะยังคงอยู่ เมื่อไล่ด้วยความร้อนปรอทจะหนีทองก็จะติดแน่นอยู่บนตำแหน่งหรือลายที่แต้มทองนั้น การแต้มทองหรือ ระบายทองในที่บางแห่งของถมดำ เป็นการเน้นจุดเด่น หรือต้องการแสดงอวดภาพหรือลายเด่นๆ ฉะนั้นเครื่องถมตะทองจึงเป็นของที่หายากกว่าถมเงินหรือ ถมทอง ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความนิยมในถมตะทองมากกว่าถมทอง


เครื่องเงิน

เครื่องเงิน เป็นโลหะสีขาวมีลักษณะแข็ง สามารถตีแผ่เป็นแผ่นหนาบาง หรือเปลี่ยนรูปทรง และหลอมละลายให้อ่อนตัวได้ มีราคารองลงมาจากธาตุทองคำ

เงิน พบในธรรมชาติทั่วไป มีทั้งชนิดก้อนและชนิดผงที่ปนอยู่ในทราย มนุษย์รู้จักนำเงินมาใช้ประโยชน์นานพอกับการนำทองคำมาใช้ การทำเครื่องเงินของไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยเฉพาะเครื่องประดับเงินในสมัยอยุธยาเป็นเครื่องประดับสำหรับชนชั้นกลาง และเด็กต่างกับเครื่องประดับทองซึ่งเป็นเครื่องประดับของชนชั้นสูง เครื่องเงินก็เป็นภาชนะใส่ของ และของใช้สำหรับชนชั้นสูงเช่นกัน โดยเฉพาะเจ้าเมืองทางเหนือของประเทศไทย นิยมใช้ภาชนะเครื่องเงิน

การทำเครื่องเงินของชาวเหนือ ในอดีตเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านทำ ใช้เฉพาะในครอบครัว ต่อมาได้แพร่หลายทำกันอย่างกว้างขวาง เงิน 100% คือ โลหะเงินล้วนไม่ผสมกับโลหะอื่นใด มีความอ่อนตัวสูง เงิน 90% คือเงินผสมโลหะอื่น มีความแข้งกว่าเงิน 100%

นิยมใช้ทำเครื่องประดับหรือภาชนะใส่ของที่ต้องการ ความแข็งแรงกว่าเงิน 100% นิยมใช้ทำเครื่องประดับหรือภาชนะใส่ของที่ต้องการความแข็งแรง เช่น กำไลข้อมือ เข็มขัด กล่องใส่บุหรี่ ถาด พาน


แผ่นเสียง รับซื้อแผ่นเสียงเก่า

กระบอกอัดเสียงเคลือบขี้ผึ้งแบบเอดิสัน ซึ่งในเมืองไทย (สยาม) ใช้บันทึกเพลงไทยเดิม ตั้งแต่ราวปลายรัชกาลที่ 4 ต่อมาเริ่มมีการบันทึกเสียงลง แผ่นครั่ง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนใหญ่เป็นเพลงเรื่องบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ที่กำลังได้รับความนิยมในสมัยนั้น [1] ซึ่งมักไม่จบในหน้าเดียว จึงต้องบันทึกต่อกันเป็นชุดๆละหลายแผ่น

โดยทั่วไปมีขนาด 10-12 นิ้ว สปีด 78 รอบ/นาที บันทึกและเล่นกลับได้หน้าละไม่เกิน 3-5 นาที เนื่องจากมีลักษณะค่อนข้างหนาและหนัก ตกแตกง่ายอย่างจานกระเบื้อง บางทีจึงเรียกว่า จานเสียง คุณภาพเสียงออกทางแหลมแตกพร่ารวมทั้งเสียงรบกวนจากหัวเข็มโลหะที่ต้องคอยเปลี่ยนบ่อย

แผ่นครั่งในเมืองไทย ได้แก่ ปาเต๊ะ, อาร์ซีเอ วิคเตอร์ (ที่เรียกติดปากว่า ตราหมาหน้าเขียว,แดง,เหลือง ฯลฯ), พาร์โลโฟน, โคลัมเบีย, เดคก้า, บรันซวิค, แคปิตอล, ฟิลิปส์, เอ็มจีเอ็ม, เทพดุริยางค์, โอเดียน (ช้างคู่), ศรีกรุง (พระปรางค์วัดอรุณ), กระต่าย, อัศวิน, สุนทราภรณ์, มงกุฏ, เทพนคร, นางกวัก, วัวกระทิง, ค้างคาว, ลิง, หมี, นาคราช, หงษ์ (คู่ ), บางกอก, กามเทพ, เพชรสุพรรณ, กรมศิลปากร แผ่นที่ใช้เฉพาะในสถานี เช่น กรมโฆษณาการ (แผ่นดิบ) หรือจำหน่ายบางโอกาส เช่น เนรมิตภาพยนตร์ ฯลฯ

การผลิตจำหน่าย มีทั้งทำแผ่นเองในประเทศ และอีกส่วนหนึ่งส่งมาสเตอร์ไปทำแผ่นที่เมืองนอก โดยเฉพาะที่เมืองดัม ดัม ประเทศอินเดีย (Dum Dum India) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั้งในยุโรปและสหรัฐว่ามีมาตรฐานสูง คุณภาพเนื้อแผ่นดีที่สุด (และผู้ผลิตในเมืองไทยยังคงนิยมสั่งทำแผ่นจากที่นี่จนถึงยุคแผ่นลองเพลย์กับซิงเกิลในช่วงแรก) แต่จานเสียงครั่งที่สั่งทำจากต่างประเทศดังกล่าว บางชุดมาไม่ถึงเมืองไทยเนื่องจากประสบอุบัติเหตุในการขนส่งขณะเดินทางจมน้ำเสียหายหมด


เครื่องเบญจรงค์

เครื่องปั้นเคลือบที่เขียนลายโดยวิธีลงยา โดยส่วนที่เรียกว่า เบญจรงค์ เป็นการเขียนลวดลายลงบนงานที่ผลิตด้วยสี 5 สี โดยทั่วไปเป็นสีดำ สีขาว สีเหลือง สีแดง และสีเขียว หรือสีคราม

เครื่องเบญจรงค์ในอดีต ใช้เพียงห้าสี ได้แก่ สีดำ สีขาว สีเหลือง สีแดง และสีเขียว (หรือสีคราม) แต่ในปัจจุบันได้มีการประยุกต์รูปแบบและสีสันให้มีมากกว่าห้าสีหลักนี้มากมาย สีที่ใช้ในอดีตเป็นสีที่เกิดจากการเผาแร่ผสมกับน้ำยาเคลือบ วาดลวดลายลงบนภาชนะก่อนนำไปเข้าเตาเผา จนได้เป็นเครื่องเบญจรงค์ที่สดสวยมันวาว

ลายที่นิยมเขียน ได้แก่ ลายเทพพนม ลายนรสิงห์ ลายก้านขด และลายกระหนก ลายเทพพนมนรสิงห์ ลายประจำยาม ลายบัวเจ็ดสี ลายเบญจมาศ ลายวิชาเยนทร์ ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นต้น ลวดลายในช่วงที่ช่างจีนเขียนอาจดูแปลกตาไปเช่น ลายเทพพนมที่เทวดาแลดูอ้วนและพุงพลุ้ย ด้วยศิลปะปลายพู่กันของช่างจีน ส่วนเอกลักษณ์ของการใช้น้ำทองวาดลวดลายบนเครื่องกระเบื้องซึ่งที่เป็นที่นิยมในช่วงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งแสดงถึงความมั่งคั่ง รุ่งเรือง และความสงบของบ้านเมืองในยุคนั้น ลวดลายเครื่องเบญจรงค์ออกแบบโดยช่างหลวง มีสีขาวเป็นพื้นบ้าง สีเบญจรงค์บ้าง และเขียนลวดลายทับสีพื้นอีกชั้นหนึ่ง โดดเด่นด้วยลายน้ำทองซึ่งมีการเผาสีทองในประเทศไทย

เครื่องเบญจรงค์เป็นเครื่องปั้นดินเผาประเภทเซรามิก (Ceramics) ใช้เนื้อดินประเภทพอร์ซเลน (Porcelain ware) มีเนื้อดินที่ใช้เรียกว่า เครื่องขาว ซึ่งเนื้อดินที่ใช้ทำในประเทศไทย มาจาก 3 แหล่ง ได้แก่ ดินระนอง ดินสุราษฎร์ ดินลำปาง ปัจจุบันสีที่ใช้เป็นสีเคมีสำเร็จรูป เรียกว่า สีบนเคลือบ (Over glaze)


1. “Collectible” หรือ ของสะสม

“Collectible” หรือ ของสะสม หมายถึง สิ่งของที่ถูกออกแบบและผลิตขึ้นมาในขบวนการการผลิตรูปแบบอุตสาหกรรมเพื่อการสะสม เช่น เหรียญที่ระลึก, ธนบัตรที่ระลึก, ตุ๊กตาเซรามิค, ตัวเหล็กติดตู้เย็น เป็นต้น แต่ในบางครั้งก็เรียกสิ่งของอย่างอื่นที่นอกเหนือจากของที่กล่าวมาแล้ว ว่าเป็นของสะสมได้เช่นกัน เช่น สิ่งของที่เป็นของตามธรรมชาติ แต่มีความสวยงามเหมาะแก่การสะสมเช่น การสะสมแมลงต่างๆ ,สะสมต้นไม้ เป็นต้น สิ่งของที่ผลิตตามกระบวนการอุตสาหกรรมแต่เพื่อประโยชน์การใช้สอยอย่างหนึ่ง แต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสะสมด้วย เช่น แสตมป์, ธนบัตร, หรือพระเครื่อง เป็นต้น และก็มีสิ่งของบางอย่างที่ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้สอยทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่ก็กลายเป็นของที่เป็นที่นิยมในการเก็บสะสม เนื่องจากมีลักษณะพิเศษ สะดุดตาผู้พบเห็น และได้เลิกทำการผลิตไปแล้ว เช่น ของเล่นประเภทตุ๊กตาต่างๆ, ถ้วยชามยี่ห้อต่างๆ หรือกางเกงยีนส์ เป็นต้น